A-Level 70 Soc สังคมศึกษา

โครงสร้างข้อสอบ

  • ข้อสอบ A-Level 70 Soc สังคมศึกษา ประกอบด้วย 5 ส่วนคือ

  • ส่วนที่ 1 : ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

    1) ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

    2) การปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาที่ตนนับถือ

    จำนวน: 10 ข้อ
  • ส่วนที่ 2 : หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม

    1) หน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี มีค่านิยมที่ดีงาม การธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข

    2) การเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน การยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

    จำนวน: 10 ข้อ
  • ส่วนที่ 3 : เศรษฐศาสตร์

    1) บริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

    2) สถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ
    ความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

    จำนวน: 10 ข้อ
  • ส่วนที่ 4 : ประวัติศาสตร์

    1) เวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ หลักฐานและวิธีการทางประวัติศาสตร์ วิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ

    2) พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในทวีปเอเซีย ยุโรป แอฟริกา และอเมริกา

    3) ชาติไทย การเมืองเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจ และความเป็นไทย

    จำนวน: 10 ข้อ
  • ส่วนที่ 5 : ภูมิศาสตร์

    1) โลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกัน ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์สรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนใช้ภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

    2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิถีการดาเนินชีวิต มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วม ในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

    จำนวน: 10 ข้อ
  • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

จำนวนข้อ

ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม / 20 คะแนน
10 ข้อ
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม / 20 คะแนน
10 ข้อ
เศรษฐศาสตร์ / 20 คะแนน
10 ข้อ
ประวัติศาสตร์ / 20 คะแนน
10 ข้อ
ภูมิศาสตร์ / 20 คะแนน
10 ข้อ
รวม50 ข้อ
คะแนนเต็ม
100 คะแนน

ตัวอย่างข้อสอบ

  • สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม (ข้อที่ 1 – 10)

    ตัวอย่าง

    ข้อใดเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับหลักการทางศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ ดังต่อไปนี้

    “ถ้อยคำที่ให้อภัยอย่างอ่อนหวาน ย่อมดีกว่าการให้ทานแล้วทำร้ายทีหลัง” (ซูเราะห์ที่ 2: 263)

    “จงตั้งการบูชา จงจ่ายค่าช่วยเหลือคนจน จงก้มศรีษะให้แก่คนที่ก้มศรีษะให้แก่เจ้า จงยินดีความเป็นธรรมที่มีอยู่ในหมู่มนุษย์ในเมื่อเจ้าลืมไป” (ซูเราะห์ที่ 2: 42, 44)

    “อย่าฆ่าคน” (บัญญัติ 10 ประการ)

    “อย่าแก้แค้น เพื่อผูกพยาบาทผู้หนึ่งผู้ใด แต่จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเอง” (เลวีติโก 19: 18)

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

    ระดับการวัด ระดับความยาก

    การวิเคราะห์

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    หลักธรรมสารณียธรรม 6 ประกอบด้วย

    (1) เมตตากายกรรม ที่มีกายกรรมด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    (2) เมตตาวจีกรรม ที่มีวจีกรรมด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    (3) เมตตามโนกรรม ที่ประกอบด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    (4) สาธารณโภคิตา ได้สิ่งใดก็แบ่งปัน คือ สิ่งใดได้มาโดยชอบธรรมแม้เล็กน้อยก็ไม่หวงไว้แต่ผู้เดียว นำมาเฉลี่ยแบ่งปัน
    (5) สีลสามัญญตา มีศีลบริสุทธิ์เสมอกัน คือ มึความประพฤติสุจริต ถูกต้องตามระเบียบวินัยเสมอกัน
    (6) ทิฏฐิสามัญญตา มีทิฏฐิดีงามเสมอกัน คือมีความเห็นชอบในข้อที่เป็นหลักการสำคัญอันจะนำไปสู่การหลุดพ้นจากทุกข์

    หลักพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย

    (1) เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
    (2) กรุณา ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
    (3) มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
    (4) อุเบกขา การรู้จักวางเฉย

    ดังนั้น จากข้อความที่กำหนดมาให้ตามหลักศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ที่สอดคล้องกันกับพระพุทธศาสนานั้น คือ สารณียธรรม 6 และพรหมวิหาร 4

  • สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม (ข้อที่ 11 – 20)

    ตัวอย่าง

    บุคคลใดมีการกระทำที่ไม่ได้แสดงถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

    ระดับการวัด ระดับความยาก

    การวิเคราะห์

    ง่าย

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ตัวเลือก 2 สมฤดีนำเกษตรสวนกล้วยรวมตัวกันทำกล้วยอบแห้งเพื่อสร้างกลุ่มเกษตรกรพึ่งพาตนเอง เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

    ตัวเลือก 1, 3, 4 และ 5 เป็นการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในการปกครองและการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย

  • สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ (ข้อที่ 21 – 30)

    ตัวอย่าง

    หากใน พ.ศ. 2566 รัฐบาลของประเทศ A ได้มีการเปิดเผยผลิตภัณฑ์ประชาชาติ เท่ากับ 1,200 ล้านบาท และในปีเดียวกัน มีคนต่างสัญชาติจากประเทศ B เข้ามาลงทุนด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและปศุสัตว์ในประเทศ A มูลค่ารวม 230 ล้านบาท และลงทุนด้านอุตสาหกรรมภาคการท่องเที่ยวและการบริการในประเทศ A มูลค่ารวม 150 ล้านบาท ขณะเดียวกันคนสัญชาติประเทศ A ไปลงทุนในประเทศอื่น ๆ ก่อให้เกิดผลผลิตคิดเป็นมูลค่า 150 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เบื้องต้น ของประเทศ A จะมีมูลค่าเท่าใด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : เศรษฐศาสตร์

    ระดับการวัด ระดับความยาก

    การนำไปใช้

    ง่าย

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    GNP = GDP + รายได้ที่คนในประเทศทำที่ต่างประเทศ – รายได้ที่คนต่างประเทศมาทำในประเทศ

    จากโจทย์

    GNP = 1,200 ล้านบาท

    รายได้ที่คนในประเทศทำที่ต่างประเทศ = 150 ล้านบาท

    รายได้ที่คนต่างประเทศมาทำในประเทศ = 380 ล้านบาท

    แทนค่าสูตร

    1200 ล้าน = GDP + 150 ล้าน – 380 ล้าน

    GDP = 1200 ล้าน – 150 ล้าน + 380 ล้าน

    GDP = 1430 ล้านบาท

  • สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ (ข้อที่ 31 – 40)

    ตัวอย่าง

    “… เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้…” (ศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 4 อ้างอิงจาก https://www.museumthailand.com/th/3594/storytelling/ลายสือไทย )

    บุคคลใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์จากข้อความที่กำหนดไว้ข้างต้น

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ประวัติศาสตร์

    ระดับการวัด ระดับความยาก

    ความเข้าใจ

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จากข้อความศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 4 นั้น 1205 ศก ปีมะแม มีเฉพาะมหาศักราชเท่านั้น ดังนั้นจึงเทียบกับ มหาศักราช 1205 เป็น พุทธศักราชได้ 1205 + 621 = พ.ศ.1826 อยู่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ฉะนั้น พ.ศ.1826 จึงอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 19 (พ.ศ.1801 – 1900)

    หากเทียบกับคริสต์ศักราช จะเท่ากับ 1826 – 543 = ค.ศ.1283 อยู่ในทศวรรษที่ 1280 (ค.ศ.1280 – 1289) และอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 (ค.ศ.1021 – 1300)

    หากเทียบกับจุลศักราช ตรงกับ 1826 – 1181 = จ.ศ.645 เบญจศก

  • สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ (ข้อที่ 41 – 50)

    ตัวอย่าง

    ข้อใดเป็นการเลือกใช้ภาพจากดาวเทียมที่ไม่เหมาะสม

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ภูมิศาสตร์

    ระดับการวัด ระดับความยาก

    การนำไปใช้

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ภาพจากดาวเทียมสามารถนำมาใช้ในการศึกษาด้านปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก เช่น การเคลื่อนที่ของพายุ การเคลื่อนที่ของฝุ่น การเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนพื้นโลก เช่น ด้านการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านการแก้ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การปนเปื้อนของมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม

    ระบบนำทางด้วยดาวเทียม สามารถกำหนดพิกัดของสถานที่
    ต่าง ๆ ในการทำแผนที่ สามารถใช้ติดตามบุคคล ยานพาหนะและสิ่งของเพื่อให้ทราบว่ายานพาหนะอยู่ที่ใด มีการเคลื่อนที่หรือไม่ หรือมีการเคลื่อนที่ออกนอกเส้นทาง และสามารถนำไปใช้ในการป้องกันและติดตามการโจรกรรมรถยนต์ได้

หมายเหตุ: "โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ" เป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบของผู้เข้าสอบเท่านั้น มิได้หมายความว่า ข้อสอบในปีปัจจุบันจะต้องกำหนดระดับความถูกต้องของคำตอบเหมือนกันทุกประการ