TPAT2 20 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์

โครงสร้างข้อสอบ

  • ข้อสอบ TPAT2 20 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ส่วน ผู้สอบสามารถเลือกสอบได้

  • ส่วนที่ 1 : TPAT21 ทัศนศิลป์ (100 คะแนน)

    1) พื้นฐานทางทัศนศิลป์ 30 ข้อ

    • 1.1 หลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์
    • 1.2 การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์งานทัศนศิลป์
    • 1.3 ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
    • 1.4 การเห็นคุณค่าและสามารถถ่ายทอดความรู้สึกที่มีต่องานทัศนศิลป์

    2) ทัศนศิลป์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน 20 ข้อ

    • 2.1 การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
    • 2.2 การนําศิลปะ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน
    • 2.3 ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับทัศนศิลป์ในชีวิตประจําวัน
    จำนวน: 50 ข้อ
  • ส่วนที่ 2 : TPAT22 ดนตรี (100 คะแนน)

    1) องค์ประกอบดนตรี 25 ข้อ

    • 1.1 จังหวะ (Rhythm)
    • 1.2 ทํานอง (Melody)
    • 1.3 เสียงประสาน (Harmony)
    • 1.4 รูปพรรณ (Texture)
    • 1.5 สีสันของเสียง (Tone Color)
    • 1.6 ลักษณะของเสียง
    • 1.7 รูปแบบ (Form)

    2) บริบทที่เกี่ยวข้องทางดนตรี 25 ข้อ

    • 2.1 ประวัติและวรรณคดีดนตรี
    • 2.2 เครื่องดนตรีและแหล่งกําเนิดของเสียง
    • 2.3 ระดับของการฟัง
    • 2.4 หลักในการปฏิบัติทักษะดนตรี
    • 2.5 ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับสังคมและการประยุกต์ใช้ดนตรีในชีวิต
    จำนวน: 50 ข้อ
  • ส่วนที่ 3 : TPAT23 นาฏศิลป์ (100 คะแนน)

    1) พื้นฐานการใช้ร่างกายทางด้านนาฏศิลป์ 10 ข้อ

    • 1.1 การเตรียมพร้อมร่างกายเพื่อปฏิบัตินาฏศิลป์
    • 1.2 พื้นฐานการเคลื่อนไหวร่างกาย

    2) การสื่อสารด้วยท่าทาง 15 ข้อ

    • 2.1 อารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก เช่น ดีใจ มีความสุข เบิกบาน
    • 2.2 อารมณ์ความรู้สึกเชิงลบ เช่น เสียใจ เจ็บปวด สิ้นหวัง
    • 2.3 การสื่อความหมาย
    • 2.4 การแสดงออกทางสีหน้าแววตา

    3) หลักการใช้พื้นที่ทางด้านนาฏศิลป์ 15 ข้อ

    • 3.1 ทิศทาง
    • 3.1 ระดับ
    • 3.1 ขนาด
    • 3.1 การใช้พื้นที่ในการแสดง
    • 3.1 การเคลื่อนที่และแปรแถว

    4) ปฏิภาณไหวพริบสําหรับผู้แสดงนาฏศิลป์ 10 ข้อ

    • 4.1 การแก้ไขสถานการณ์ก่อนการแสดง
    • 4.2 การแก้ไขสถานการณ์ระหว่างการแสดง
    จำนวน: 50 ข้อ
  • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที

    หมายเหตุ : การคิดคะแนนรวม คำนวณจากการเฉลี่ยทั้งสามส่วน เต็ม 100 คะแนน

จำนวนข้อ

TPAT21 ทัศนศิลป์ / 100 คะแนน
50 ข้อ
TPAT22 ดนตรี / 100 คะแนน
50 ข้อ
TPAT23 นาฏศิลป์ / 100 คะแนน
50 ข้อ
รวม150 ข้อ
คะแนนเต็ม
100 คะแนน

ตัวอย่างข้อสอบ

  • TPAT21 ทัศนศิลป์

    ตอนที่ 1 พื้นฐานทางทัศนศิลป์

    1. ภาพนี้แสดงความรู้สึกข้อใด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • 2. ในบางกรณีศิลปะไทยคือการแก้ไขปัญหา จงเลือกปัญหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการงานออกแบบลายผ้าไทย

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • ตอนที่ 2 ทัศนศิลป์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน

    1. ข้อใดต่อไปนี้ให้สีแดง

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • 2. สีน้ำ (Water Color) และสีอะคริลิก (Acrylic Color) มีคุณลักษณ์เหมือนกันอย่างไร

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • TPAT22 ดนตรี

    ตอนที่ 1 องค์ประกอบดนตรี

    1. โน้ตในข้อใดมีระดับเสียงสูงที่สุด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • 2. จากรูปภาพที่ให้มา ข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับ กับว่า Beat หรือ จังหวะชีพจร ในดนตรีสากล และจังหวะฉิ่ง ในดนตรีไทยมากที่สุด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • ตอนที่ 2 บริบทที่เกี่ยวข้องทางดนตรี

    1. การเกิดเสียงของเครื่องดนตรีในข้อใดไม่เหมือนกัน

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • 2. ในงานกีฬาสีของโรงเรียน เมื่อประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน จะต้องใช้เพลงใด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • TPAT23 นาฏศิลป์

    ตอนที่ 1 พื้นฐานการใช้ร่างกายทางด้านนาฏศิลป์

    1. หากต้องการกระตุ้นให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นไม่ควรปฏิบัติตามข้อใด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • 2. ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องจาก “ท่ายืน” ไปสู่ “ท่านอน”

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • ตอนที่ 2 การสื่อสารด้วยท่าทาง

    1. หากมีความสุข ควรปฏิบัติตามข้อใด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • 2. ข้อใดแสดงถึงการปฏิเสธ

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • ตอนที่ 3 หลักการใช้พื้นที่ทางด้านนาฏศิลป์

    1. ข้อใดไม่ใช่ท่าที่ถูกจัดให้อยู่ในระดับต่ำ

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • 2. ท่าใดไม่สัมพันธ์กับคําว่า “กว้างใหญ่”

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

  • ตอนที่ 4 ปฏิภาณไหวพริบในการแสดงนาฏศิลป์

    1. ระหว่างการแสดงระบำมวลหมู่ หากพบว่าผ้านุ่งหรือกระโปรง หรือกางเกงที่ตนเองสวมอยู่กำลังจะหลุด ควรปฏิบัติอย่างไร

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

หมายเหตุ: "โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ" เป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบของผู้เข้าสอบเท่านั้น มิได้หมายความว่า ข้อสอบในปีปัจจุบันจะต้องกำหนดระดับความถูกต้องของคำตอบเหมือนกันทุกประการ